วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

สอนให้ล้ำยุค



ลองเปรียบเทียบครูสองคน  ครูเอ สอนเรื่องอึ่งอ่าง ผ่านรูปภาพ ไม่ก็ผ่านภาพสไลน์ 

กับครูบี ใช้เทคโนโลยี ar เข้าช่วย หรือแว่นวีอาร์ ให้เห็นอึ่งอ่างสามมิติ เคลื่อนไหวได้ มีวิวัฒนาการให้เห็นตามที่เด็กอยากรู้โดยการคลิกให้ดู 

ครูสองคนนี้มีทรัพยากรเท่ากัน ทีวี 1 คอม1 แต่สิ่งที่เด็กได้รู้ไม่เท่ากัน เด็กห้องครูb จะคิดไปไกลกว่า เห็นภาพชัดกว่า ต่อยอดคิดได้ นี่คือ การเรียนรู้ด้วยตัวเอง จากสื่อโดยมีครูเป็นผู้สรรหาและคัดกรอง เหมือนครูเป็นโคช

ตอนนี้ เขาปรับหลักสูตร นำเด็กกลับเข้าห้องเรียนอีกแล้วนะท่าน ...การเรียนรู้บูรณาการแบบนอกห้องเรียนไม่ได้ผลแล้ว เพราะเด็ก มีอาการเหม่อลอยไปนอกหน้าต่าง การเรียนไม่สนุกไม่น่าสนใจ สื่อนอกห้องน้อย ซ้ำซาก วิธีการก็คือ ให้ความสำคัญกับสมรรถนะครูเรื่องการหาสื่อมาสอนเด็ก มีความรู้ที่จะสอนกว้างที่สุด มากที่สุด โดยการใช้นวัตกรรมให้เกิดประโยชน์(อย่าว่าบ้านเราไม่มีนะ แต่คนใช้ไม่เป็นและไม่นำมาใช้) เขาใช้เทคนิค การสอนที่เด็กสนใจ มีส่วนร่วม เพราะระดับขั้นพื้นฐานของเขา ยังไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ หมายถึงเขาแยกแยะไม่เป็นในเรื่องถูกผิด แต่ที่ผ่านมา ครูเราเข้าใจผิดตลอด การให้เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเอง คือให้เด็กสืบค้นด้วยตัวเอง แล้วใครจะติดตามเขาล่ะว่าสิ่งที่เขารู้นั้นมันผิดหรือถูก ข้อสอบวัดผลไม่กี่ข้อไม่ทำให้รู้ว่าเขามีกระบวนการคิดอย่างไรจะมาตรฐานสากล ต้องไปคู่กับเขา ไม่ใช่ตาม หนูอยู่ในกลุ่มนักพัฒนามาสิบปี จนป่านนี้ยังไม่เห็นนักการศึกษาไทยในในกลุ่มนักพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา ย้ำ ระดับการผลิตนะ ไม่ใช่ผู้ใช้  ระดับสูงน่่ะ จนป่านนี้ ก็ยังไม่เห็น มีแต่เรายืนมีปากมีเสียงโทงๆ ช่วยด้วยๆ ฉันไม่ได้ ตรงนี้ แม้แต่ไปบอกให้หยุดขับเคลื่อนเทคโนโลยีเพราะกลัวข้อมูลสารสนเทศการศึกษาสูญหายก็ทำมาแล้ว สะตงสะเต็ม ได้แต่นั่งมองเขาทำกัน เขาก็สนับสนุนมาเยอะแยะ แต่ จะเอามาให้ประเทศตัวเองอย่างไร ทำไม่ได้ ไม่มีใครเข้าถึง ที่กล้าพูด เพราะอยู่ในกลุ่มที่ขับเคลื่อนพัฒนาซอฟแวร์มาตลอด และแปลก ที่ระดับสูงไม่มีนักการศึกษาไทย แม้แต่หลักสูตร จะปรับแทบตายมันก็ปรับไม่ได้เพราะคุณไม่เข้าใจกระบวนการเปลี่ยนไปของโลก  เมื่อครูไทยยังโลกแคบให้เขากำหนดหลักสูตรก็กำหนดตามสิ่งที่เขาเห็น แต่ยึดถือมาตรฐานสากล ตัวชี้วัดมันก็ไปคนละทางแล้ว อีกทั้ง การศึกษา แต่ละที่เขามีกรอบที่กำหนดให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของเขา ทั้งไอคิว อีคิว เอชคิว อีกหลายๆคิว โดยเฉพาะพฤติกรรม ลักษณะนิสัยของเด็ก เขาใช้มอนเตส เพราะเขาวิจัยจากเด็กบ้านเขา แต่เราก็ไปเอามาใช้ แทนที่จะเรียนรู้และวิจัยจากพฆติกรรมเด็กตัวเอง มันก็ผิดประเด็น

เทคโนโลยีการศึกษาบ้านเราคือการเปิดทีวีให้เด็กดูอีกโรงเรียนสอน แต่เขาไม่ใช่ มันไม่บรรเจิดเลย การที่นั่งดูเด็กคนอื่นหรือครูอธิบายบนกระดานผ่านทีวี

แต่การใช้เทคโนโลยี ให้เกิดประโยชน์คือ คอมหนึ่งเครือง แบ่งกลุ่มเลย เปลี่ยนกันไปเรียนเรื่องโลกและเอาวกาศ ผ่าน Google Map for Education  เทคโนโลยี 3G ที่สามารถเข้าไปขับในยานอวกาศยังได้ มีโลกมีดวงดาวแบบ 3 มิติ ให้เขาได้ลงมือ บังคับ ด้วยตนเอง ซึ่งมันน่าสนุกกว่าการที่ ครูมาอ่านหนังสือให้นักเรียนฟังหน้าห้อง

แต่อย่างว่า ไม่มีอินเตอร์เน็ตหรือไม่พร้อม เพราะบางอย่างไม่จำเป็นต้องใช้อินเตอร์เน็ต มันสามารถทำงานบน Offline ได้ แต่ครูต้องมีสมรรถนะในการใช้ซึ่งครูสมัยใหม่ นอกจากเฟสจากไลน์แล้วน่าจะสรรหาความรู้เรื่องนี้ให้มากๆ ซึ่งมันไม่ได้ยากอะไรเลย