วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2566

การออกแบบวิธีการสอนในยุคศตวรรษที่ 21

ส่วนใหญ่การทดสอบก่อนเรียน แม้แต่ผู้เรียนเองก็จะคิดแค่ว่า ก่อนเรียนเรารู้แค่ไหน...แต่ไม่ได้เอาไปวิเคราะห์ว่า ในข้อที่เราไม่รู้เราจะเน้นเป็นพิเศษหรือในส่วนที่เราเข้าใจแล้ว เราแค่ทำความเข้าใจสักเล็กน้อยเพื่อไม่ให้เสียเวลาในบทเรียนถัดไป...หรือไม่ให้เสียเวลาในการที่จะทำความเข้าใจในสิ่งที่เราไม่รู้.
สังเกตดูบทเรียนออนไลน์ที่มีอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน.... ระบบเรียนออนไลน์..แบบทดสอบก่อนเรียนมีไว้วัดความสำเร็จของผู้ที่ทำบทเรียน ...
แต่ไม่ได้มีระบบวิเคราะห์ว่า...ผู้เรียนต้องเรียนรู้ในเรื่องใดเป็นพิเศษ.....เพราะสอบได้คะแนนเท่าไหร่ ก็ต้องเริ่มเรียนตั้งแต่ 1-10 ดูตามคลิป ที่ไม่ให้มีการเลือกเนื้อหาที่ต้องเน้น ..... ทำให้ผู้เรียนเสียเวลาในการเรียนในเรื่องที่ขาดความเข้าใจ...... ทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อ ..เพราะเรียนรู้ในเรื่องที่ตนเองรู้อยู่แล้ว.....ในเรื่องนั้น...เนื้อหาควรเป็นเนื้อหาใหม่....ที่ไม่เคยมีมาก่อนจะเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักว่าตนเองต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา...ไม่ใช่ให้ผู้เรียนเข้าใจว่ารู้อยู่แล้วจะเรียนไปอีกทำไม..ถ้าเป็นแบบนี้จะทำให้ผู้คนเกิดการเบื่อที่จะอบรมเรียนรู้ออนไลน์

เนื้อหาบทเรียนในปัจจุบัน มีจำนวนมากประกอบด้วยสื่อที่มีอย่างหลากหลาย  ซึ่งบางครั้งอาจจะทำให้การกำหนดหลักสูตรจำเป็นต้องดึงเนื้อหามามากมาย ทำให้ใช้เวลาในการสอนแต่ละบท  จึงมีแนวคิดในการออกแบบวิธีการสอนเพื่อให้สามารถกระชับเวลาและลดเนื้อหาที่มีจำนวนมากลง  ดังนี้ ....
1.การพูดคุยนำเข้าสู่เรื่องราวหรือเนื้อหาใน 1 บทหรือ 1 เรื่อง  โดยผู้ทั่วๆไปหรือเป็นการยกตัวอย่างคร่าวๆ หรือเชื่อมโยงเหตุการณ์ที่มีในปัจจุบันเข้าสู่บทเรียน
2.ให้ผู้เรียนทำแบบวัดความรู้ก่อนการเรียน... นั่นหมายถึงว่าหลังจากทำแบบวัดความรู้แล้วผู้สอนต้องเอาผลมาวิเคราะห์ว่าผู้เรียนมีคะแนนในข้อไหนมากที่สุด และน้อยที่สุด  เอาหัวข้อที่นักเรียนได้คะแนนน้อยเป็นประเด็นสำคัญที่ครูต้องเน้นให้ความเข้าใจ  ทำแบบนี้จะทำให้ผู้สอนรู้จุดแข็งจุดอ่อนและสามารถกำหนดทิศทาง ของรูปแบบการเรียนและเพิ่มลดเนื้อหาในบทเรียนได้..... ทำให้ผู้สอนสามารถเพิ่มทักษะหรือสร้างความเข้าใจได้ตรงกรรมสมรรถนะของผู้เรียน
3. หลังจากสอนตามเนื้อหา แล้ว ใน 1 บทเรียนสั้นๆหรือใน 1 เรื่อง ให้มีการวัดความรู้เพียงการตอบคำถามหรือแบบทดสอบไม่เกิน 10 ข้อ  เพื่อเป็นการทบทวนและรู้ระดับความเข้าใจของผู้เรียน  วิธีการนี้จะทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อ  มีแรงกระตุ้นมีแรงบันดาลใจในการที่จะเรียนในบทต่อๆไป
..........
4 . เมื่อจบบทเรียนตามตัวชี้วัด ทำการประเมินนักเรียนอีกครั้งในเนื้อหารวมทั้งหมด  ....เพื่อเป็นการทบทวนและรวบยอดองค์ความรู้ตั้งแต่จุดประสงค์แรกถึงจุดประสงค์สุดท้ายของการเรียนรู้ 
5. ในการเรียนแต่ละบทให้กำหนดเป็นโมดูลและทำกิจกรรมแทนการทดสอบเพื่อให้ผ่านในบทเรียนนั้นๆ.... เช่น ให้นักเรียนเขียนวิธีหรือแนวทางที่ตนเองคิด และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนคนอื่นๆในชั้นเรียน.... โดยให้นักเรียนทุกคนลงมือทำหรือจัดกลุ่มในการทำกิจกรรม... หลีกเลี่ยงวิธีวัดผลโดยการถามนักเรียนบางคนซึ่งนักเรียนคนอื่นๆจะถูกละเลย และจะถูกข้าม  ถ้าหากไม่เข้าใจในเนื้อหานั้น....