ย้อนไปเมื่อปี 2557 มีโครงการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาที่จังหวัดพิษณุโลก ระยะเวลา 4 วันซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว เป็นการประชุมระดับผู้บริหารสถานศึกษา ทั่วประเทศโดยความร่วมมือของ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก ซึ่งการประชุมดังกล่าวถือว่าเป็นการ startup เทคโนโลยีเกี่ยวกับการศึกษาโดยเฉพาะ ทั้งนี้การขยายผลดังกล่าวทางผู้จัดงานได้ส่งข้อมูลต่างๆ รวมถึงคู่มือ เข้าอีเมลของผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้ที่เข้าร่วมประชุม .....แต่ในการศึกษาไทยหรือระบบการบริหารงานต่างๆนั้นยังอิงรูปแบบเดิม คือผู้อำนวยการเป็นใหญ่ ในขณะที่ไม่ได้แยกและคำนึงถึง การบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีซึ่งจะต้องอาศัยผู้ที่มีความชำนาญ ซึ่งแต่ละโรงเรียนอาจจะเป็นครูคอมพิวเตอร์หรือผู้ที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถใช้เครื่องมือได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น โครงสร้างของการบริหารงานในองค์กรต่างๆ นั้น จะแตกต่าง กับโครงสร้างการบริหารงานอิเล็กทรอนิกส์ สาระสำคัญคือแอดมินจะต้องมีความรู้การเขียนโปรแกรมมันจึงจะสำเร็จ แต่ที่ผ่านมานั้นส่วนใหญ่ admin จะเป็นผู้อำนวยการไม่ว่าจะโครงการอะไรก็ตามที่ผ่านมา โรงเรียนส่วนใหญ่จะให้ผู้อำนวยการเป็น admin และข้อมูลต่างๆ จะใช้อีเมลของผู้ที่อบรม ไปผูกติดกับโปรแกรมและทรัพยากรที่ได้รับทำให้ขาดการประสานงานและการบริหารจัดการทรัพยากรนั้นๆอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างให้เห็น สำหรับการตั้งค่า ปกติแล้วจะเป็นภาษาอังกฤษเลยทำให้เห็นในรูปแบบของภาษาไทยจะได้เข้าใจว่าเราต้องแยกระหว่างองค์กรที่มีอยู่จริงกับผู้บริหารจัดการองค์กรที่มันอยู่ในระบบ ทั้งนี้ส่วนใหญ่ถ้ามีระบบงานต่างๆเราจะใช้อีเมลของผู้บริหารขึ้นเป็นแอดมินหลักหรือเป็นผู้ดูแลระบบ
ซึ่งอีเมลจะผูกโยงไปกับทรัพยากรที่เราได้รับการอบรมหรือได้รับมาจาก partner ต้นทางจะส่งการตั้งค่าต่างๆมายังอีเมล์ลองนึกดูว่าเมื่ออีเมลไปถึงผู้บริหารแล้วจะว่าหรือภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆโดยหยุดอยู่กับที่ ประกอบกับโครงสร้างของระบบบริหารไทยผู้น้อยมีมารยาทพอที่จะไม่นำเสนอเรื่องสำคัญต่างๆหรือผู้ที่วางตัวที่เป็นผู้บริหารที่แก่งก็คงไม่สามารถยอมรับได้หากจะให้ครูหรือบุคลากรอื่นเป็นแอดมินควบคุมระบบต่างๆที่ต้องใช้ความสามารถพิเศษในการทำ ..เหมือนดูว่าจะไม่ใช่ปัญหาเพราะมันไม่มีปัญหาที่ไม่มีปัญหาเพราะไม่มีการลงมือทำ พอไม่มีการลงมือทำ อุปสรรคก็ไม่มีแต่ถามว่าสุดท้ายแล้วมีทรัพยากรใช้หรือไม่